หน้าหลัก ติดต่อเรา ดาวน์โหลด เนื้อหาหลักสูตร ผู้สอน โครงงานอุปกรณ์ วิธีการสังซื้อ
 
  บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน การดล และโมเมนตัม [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน การตกอิสระ [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน การเคลื่อนที่วิธีโค้ง [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน แรง และการเคลื่อนที่ [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน งาน และพลังงาน [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน การชน และโมเมนตัม [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน การเคลื่อนที่แบบวงกลม [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน สมดุลกล และโมเมน [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน การอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน การวัดความยาว มวล เวลา [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน เวคเตอร์บอกทิศทาง [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน แรง กับ FREE BODY DIAGRAM (F.B.D) [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน ฝึกเขียน FREE BODY DIAGRAM ตามกฎของนิวตัน [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน แรงเสียดทาน [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน เบอร์นูลลี เอฟเฟกต์ [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน การขยายตัวของโลหะ [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน ความร้อน [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน เครื่องจักรกล จากพลังงานความร้อน [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน มาใช้พลังงานทางเลือกกันเถอะครับ [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน คลื่น และการสั่นสะเทือน [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน คลื่นนิ่ง (STANDING WAVES) [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน ไฟฟ้าสถิตในชีวิตประจำวัน [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน การประยุกต์ใช้งานไฟฟ้าสถิต [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน ความปลอดภัยในระบบไฟฟ้า [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน แรงแม่เหล็ก [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน การเหนี่ยวนำแม่เหล็ก และไฟฟ้า [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน การค้นพบวิธีสื่อสารโทรคมนาคม [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน แสงและการมองเห็น [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน เปิดโลกอุปกรณ์ทางแสง (Optical Instruments) [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน นักฟิสิกส์ตลอดกาล Albert Einstein [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเสษ [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน ควอนตัมฟิสิกส์ [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน X-rays [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน แสงเป็นคลื่นหรืออนุภาคกันแน่ ? [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน ฟิสิกส์ของอะตอม [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน เลเซอร์ และโฮโลกราฟ [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน นิวเคลียร์ฟิสิกส์ [click here]
บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ตอน แรงตึงผิว [click here]
 

บทความฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน
ตอน  มองนอกกรอบ

โดย  อ.กมุทสุพ  สังขเกษม

       ผมมีเรื่องที่ฟังแล้วชอบใจมาก ๆ อยู่เรื่องหนึ่งขออนุญาตนำมาเล่าให้ฟัง เพราะมันให้ข้อคิดทั้งคนเป็นนักเรียน และคนเป็นครูได้อย่างดีลองฟังดูนะครับ
โจทย์ข้อหนึ่งในข้อสอบวิชาฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนมีดังนี้
“จงอธิบายว่าท่านจะใช้บารอมิเตอร์วัดความสูงของตึกระฟ้าได้อย่างไร”
       รู้จักกันนะครับ บาร์รอมิเตอร์นี้ก็คือเครื่องมือวัดความกดอากาศนั่นเอง (อธิบายเพิ่มเติมก็คงต้องบอกว่าอากาศนั้น มันมีน้ำหนักหรือมีแรงกดนั่นและแรงกดของอากาศนั้นเมื่อยู่ในระดับความสูงที่เปลี่ยนไป ความกดอากาศก็เปลี่ยนไปด้วย)
       นักศึกษาคนหนึ่งเขียนคำตอบลงไปว่า “เอาเชือกยาว ๆ ผูกกับบารอมิเตอร์แล้วหย่อนลงมาจากยอดตึก แล้วก็เอาความยาวเชือกบวกความสูงบารอมิเตอร์ก็จะได้ความสูงของตึก”
       ฟังดูเป็นอย่างไรครับคำตอบนี้ ผมฟังครั้งแรกผมยังอมยิ้มเลยครับแต่อาจารย์ที่ตรวจข้อสอบไม่นึกขันอย่างผมด้วย ...อาจารย์ตัดสินให้นักศึกษาคนนั้นสอบตก
       นักศึกษาผู้นั้นยืนยันต่ออาจารย์ที่ปรึกษาว่า คำตอบของเขาควรจะถูกต้องอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง และคำตอบของเขาก็สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์
       ทางมหาวิทยาลัยจึงตั้งกรรมการชุดหนึ่งมาตัดสินเรื่องนี้ และในที่สุดคณะกรรมการก็มีความเห็นตรงกันว่า คำตอบนั้นถูกต้องอย่างแน่นอน แต่เป็นคำตอบที่ไม่แสดงถึงความรู้ความสามารถทางฟิสิกส์ ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทางคณะกรรมการจึงให้เรียนนักศึกษาคนนั้นมา แล้วให้สอบข้อสอบข้อนั้นอีกครั้งหนึ่งต่อหน้าโดยให้เวลาเพียง 6 นาที เท่ากับเวลาในการสอบข้อสอบเดิม เพื่อหาคำตอบที่แสดงให้เห็นถึงความรู้ทางด้านฟิสิกส์ หลังจากผ่านไป 3 นาที นักศึกษาคนนั้นก็ยังนั่งนิ่งอยู่ กรรมการจึงเตือนว่า เวลาผ่านไปครึ่งหนึ่งแล้ว จะไม่ตอบหรืออย่างไร
       นักศึกษาหัวรั้นจึงตอบว่า เขามีคำตอบมากมายที่เกี่ยวกับฟิสิกส์ แต่ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะใช้คำตอบไหนดี และเมื่อได้รับคำเตือนอีกครั้ง นักศึกษาจึงเขียนคำตอบลงไปดังนี้

  • ให้เอาบารอมิเตอร์ขึ้นไปบนดาดฟ้าตึกและทิ้งลงมาจับเวลาจนถึงพื้น ความสูงของตึกหาได้จากสูตร H=0.5g*t กำลัง 2

  • ถ้าแดดแรงพอ ให้วัดความสูงบารอมิเตอร์แล้วก็วางบารอมิเตอร์ให้ตั้งฉากพื้นแล้ววัดความยาวของเงาบารอมิเตอร์ จากนั้นก็วัดความยาวของเงาตึก แล้วคิดด้วยตรีโกณมิติก็จะได้ความสูงของตึก โดยไม่ต้องขึ้นไปบนตึกด้วยซ้ำ

  • หรือถ้าเกิดอยากใช้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์มากกว่านี้ ก็เอาเชือกเส้นสั้น ๆ มาผูกกะบารอมิเตอร์แล้วแกว่งเหมือนลูกตุ้ม ตอนแรกก็แกว่งระดับพื้นดิน แล้วก็ไปแกว่งอีกทีบนดาดฟ้าความสูงของตึกจะหาได้จาก ความแตกต่างของคาบการแกว่งเนื่องจากความแตกต่างของแรกดึงดูดจากจุดศูนย์กลางของมวล คำนวณจาก T = 2 พาย กำลัง 2 รากที่ 2 ของ l/g

  • แต่ถ้าคุณเป็นคนที่น่าเบื่อและยึดถือตามแบบแผนจำเจซ้ำซาก คุณก็เอาบารอมิเตอร์วัดความดันอากาศที่พื้น และยอดตึก คำนวณความแตกต่างของความดันก็จะได้ความสูง

  • ส่วนวิธีสุดท้ายง่ายและตรงไปตรงมาก็คือ ไปเคาะประตูห้องภารโรงแล้วบอกว่า อยากได้บารอมิเตอร์สวย ๆ ใหม่เอี่ยมสักอันไหม ช่วยบอกความสูงของตึกให้ผมทีแล้วผมจะยกให้ นักศึกษาคนนั้น คือ นีล โบร์ ผู้ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1922